พลังงานโลว์คาร์บอนมีอะไรให้เลือกใช้บ้าง มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร มาดูกัน

ปัจจุบัน ทั่วโลกตื่นตัวกับประเด็น Climate Change (สภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง) เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าทุกหย่อมหญ้าตระหนักถึงหายนะที่ได้เกิดและกำลังจะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ โลกของเราอาจจะต้องพบกับจุดเวลาที่ไม่อาจย้อนกลับ (poin of no return) หรือ จุดจบ เลยก็เป็นได้
อุตสาหกรรมเดินเรือเป็นช่องทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าของโลกกว่าร้อยละ 90 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมีการใช้น้ำมันเป็นจำนวนถึง 140 ล้านตันต่อปี
การเผาผลาญเชื้อเพลิงเหล่านั้นถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คิดเป็น 3% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด และยังมีการปล่อยก๊าซกลุ่มซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) อีกด้วย
IMO คาดว่า หากอุตสาหกรรมเดินเรือไม่หาทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซเหล่านี้ ในปี 2050 มันจะเพิ่มปริมาณขึ้นมากกว่าเดิมหลายสิบเท่าเลยทีเดียว
ดังนั้น เพื่อตอบสนองตอบมาตรการของ IMO ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้นั้น อุตสาหกรรมเดินเรือต้องมองหาพลังงานทดแทนที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้คือกลุ่มของ “พลังงานหมุนเวียน” หรือ “Renewable Energy”
พลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไปและสามารถฟื้นฟูกลับมาอยู่เรื่อย ๆ อย่างเช่นพลังงานที่มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ แสงอาทิตย์ ลม ฝน คลื่น หรือความร้อนใต้พื้นโลก ซึ่งบางครั้งจะถูกเรียกว่า “พลังงานทดแทน”
พลังงานกลุ่มนี้แตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องใช้เวลาหลายล้านปีในการกลั่นตัวและใช้แล้วหมดไป
ความโดดเด่นของพลังงานหมุนเวียนคือ มันส่งผลกระทบกับโลกของเราน้อยมาก และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนการผลิตและนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้กำลังลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมเดินเรือต้องเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานอนาคตที่ยั่งยืน
จากข้อบังคับของ IMO ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งนึงภายในปี 2050 ทำให้อุตสาหกรรมการเดินเรือเริ่มหันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปล่อยซัลเฟอร์น้อย (Low-sulphur fuel oils-LSFO) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แต่นั่นอาจไม่เพียงพอ
จึงเป็นที่มาของการมองหาพลังงานหมุนเวียน ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำหรือไม่มีเลย ซึ่งพลังงานเหล่านี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แน่นอนว่าการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่นกัน ลองมาพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลกัน
1. เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)
เชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Biofuel คือ เชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล (Biomass) สสารที่ได้จากพืชและสัตว์โดยมีพื้นฐานจากการสังเคราะห์แสง แล้วเก็บรวบรวมพลังงานจากดวงอาทิตย์เอาไว้ในรูปของพลังงานเคมี
ข้อดี
ข้อเสีย
2. เมทานอล (Methanol)
เมทานอลเป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งการผลิตเมทานอลทำโดยผสมไฮโดรเจนและคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดจากก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน
ปัจจุบันมีการนำไปใช้งานอย่างจำกัดในอุตสาหกรรมเรือ มักใช้ร่วมกับเซลล์พลังงานในเรือขนาดเล็ก
ข้อดี
ข้อเสีย
3. ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนถูกมองว่าเป็นพลังงานสะอาดที่จะเป็นตัวแปรสำคัญ นำไปสู่การเดินเรือที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมบูรณ์แบบ
ปัจจุบัน การผลิตส่วนใหญ่มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงจำเป็นต้องหาแหล่งผลิตที่ยั่งยืนและมุ่งเน้นการผลิตพลังงานไฮโดรเจนสะอาด (Green Hydrogen)
ข้อดี
ข้อเสีย
4. แอมโมเนีย
เป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป มีปริมาณการผลิตราว 200 ล้านตันต่อปี ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานสองแบบ โดยใช้แอมโมเนียร่วมกับก๊าซ LPG ซึ่งคาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี 2022
ข้อดี
ข้อเสีย
5. แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับพลังงานหมุนเวียน (Battery stored renewable electricity)
แบตชนิดลิเทียมไอออนนั้นให้ค่าพลังงานในระดับที่ดีเพียงพอต่อการนำมาใช้บนเรือ มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างมาก
ข้อดี
ข้อเสีย
6. การใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ (Wind and solar applications)
พลังงานลมนับว่ามีความสำคัญกับวงการเดินเรือมาตั้งแต่อดีต ซึ่งปัจจุบันสำหรับเรือขนาดใหญ่การใช้ลมขับเคลื่อนเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต้องการปริมาณมหาศาลในการขับเคลื่อนเรือขนาดหลายพันตัน
จึงเน้นการนำพลังงานส่วนนี้ไปเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในเรือมากกว่า ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงปกติ
ข้อดี
ข้อเสีย
7. ก๊าซธรรมชาติ (LNG)
ก๊าซธรรมชาติเหลวถูกมองว่าเป็นตัวเลือกเชื้อเพลิงในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงานเท่านั้น ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ข้อดี
ข้อเสีย
พลังงานแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่จะถูกค้นคว้าวิจัยให้ถึงขั้นกลายเป็นพลังงานหลักแทนที่น้ำมันเตาได้หรือไม่ ยังต้องให้รอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ทั้งนี้ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากตลาดทั้งฟากของผู้ผลิตและผู้ใช้งานร่วมกันผลักดัน
ส่วนประเด็นด้านต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มจะลดต่ำลงต่อเนื่อง จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
พลังงานบางอย่างที่ได้กล่าวถึงไปอาจไปไม่ถึงฝั่งฝัน แต่ก็อาจถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมในรูปแบบหรือวิถีทางอื่น
ปัญหาโลกร้อนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถ้าเราไม่เริ่มลงมือด้วยการ ‘จำกัด’ หรือ ‘กำจัด’ ตัวการที่ทำอันตรายต่อโลกแล้ว ท้ายที่สุดจะเป็นมนุษย์ที่ต้องพบเจอกับหายนะ
ถึงเวลาแล้วที่วงการเรือจะต้องเป็นส่วนนึงในการร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนนี้ด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย
Related Article
Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020