
หนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถพูดได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางดิจิทัล (Digital Transformation : DX) ในอุตสาหกรรมทุกประเทศทั่วโลก
ก็คือ ระบบอัตโนมัติ (Automation) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำงานได้โดย
ไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม โดยระบบอัตโนมัติเป็นได้ทั้งรูปแบบทางกายภาพ เช่น
หุ่นยนต์ โดรน หรือรูปแบบโปรแกรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่เรียนรู้จากข้อมูลที่ป้อนให้แล้วทำงาน โดยที่ไม่ต้องใช้คำสั่งจากมนุษย์
ในปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมได้นำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมขนส่งได้มีการพัฒนายานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อน
ด้วยระบบอัตโนมัติอย่างปลอดภัย แต่การขนส่งทางทะเลกลับนำเอาระบบอัตโนมัติ
มาประยุกต์ใช้ช้ากว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ เนื่องเพราะระบบอัตโนมัติต้องการ
การเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ การขนส่งทางทะเลต้องเดินทางบนท้องทะเล
เป็นระยะเวลานานๆ อุปกรณ์ส่งสัญญาณข้อมูลต่างๆจึงไม่เอื้ออำนวยเท่ากับการขนส่ง
ทางบกและอากาศ แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี
ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น รวดเร็วขึ้น
ทำให้การพัฒนาระบบอัตโนมัติในการขนส่งทางทะเลมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
นำข้อมูลคณิตศาสตร์และสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวัดปริมาณผลงานตีพิมพ์และ
จำนวนการอ้างอิงผลงาน พบว่ามีงานวิจัย 152 ชิ้น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ 47 ฉบับ ในระหว่างปีค.ศ. 2015 – 2022
(เส้นกราฟสีน้ำเงินในรูปที่ 1) และมีค่าเฉลี่ยการอ้างอิงผลงานต่อหนึ่งงานวิจัย
(Mean Total Citations per Article : MeanTCperArt) พุ่งสูงขึ้น ในช่วงปี
ค.ศ. 2015 – 2017 (เส้นกราฟสีฟ้าในรูปที่ 1) แสดงถึงความสนใจในงานวิจัย
เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติในการขนส่งทางทะเล และนำข้อมูลผลงานเหล่านั้นไป
ต่อยอดจนทำให้งานวิจัยเพิ่มสูงขึ้นในทุกปีๆ และการวิจัยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใน
ประเทศที่ขนส่งทางทะเลสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เช่น
ประเทศแถบสแกนดิเนเวียอย่างนอร์เวย์ ฟินแลนด์ หรือสามยักษ์ใหญ่ด้าน
การขนส่งทางทะเลอย่าง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ซึ่งในเรื่องระบบอัตโนมัติในการขนส่งทางทะเล องค์การทางทะเลระหว่าง
ประเทศได้ให้คำจำกัดความว่า “เรือผิวน้ำอัตโนมัติ” หรือ Maritime Autonomous
Surface Ships (ต่อจากนี้จะขอใช้คำว่า MASS) คือเรือที่สามารถปฏิบัติการได้
โดยไม่ต้องการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในระดับที่แตกต่างกัน โดยแบ่งระดับที่แตกต่าง
ของระบบอัตโนมัติเป็น 4 ระดับดังต่อไปนี้(2)
ระดับที่ 1 : เรือที่มีระบบประมวลผลอัตโนมัติและสนับสนุนการตัดสินใจ
โดยที่ยังมีคนประจำเรืออยู่บนเรือเพื่อปฏิบัติงานและควบคุมระบบการทำงาน
ของเรือ บางระบบอาจระบบอัตโนมัติที่ไม่ต้องมีคนควบคุม แต่ถ้าระบบอัตโนมัติ
ทำงานผิดปกติ คนประจำเรือก็พร้อมที่จะเข้าไปควบคุม
ระดับที่ 2 : เรือสามารถควบคุมจากระยะไกลแต่ต้องยังมีคนประจำเรืออยู่
เรือจะถูกควบคุมและสั่งการจากสถานที่อื่นและคนประจำเรือก็พร้อมเข้าควบคุม
ระบบการทำงานของเรือ
ระดับที่ 3 : เรือสามารถควบคุมจากระยะไกลโดยไม่ต้องมีคนประจำเรือ
เรือจะถูกควบคุมและสั่งการจากสถานที่อื่นและโดยไม่มีคนประจำเรือ
ระดับที่ 4 : เรือเป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ ระบบปฏิบัติการของเรือ
สามารถตัดสินใจและกำหนดการปฏิบัติงานได้ด้วยตัวเอง
องค์การทางทะเลระหว่างประเทศมอบหมายให้คณะกรรมการความปลอดภัย
ทางทะเล (Maritime Safety Committee: MSC) เริ่มตรวจสอบความปลอดภัย
ความมั่นคง และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของในการใช้งาน MASS โดยกำหนด
กรอบและวิธีการสำหรับขอบเขตข้อบังคับการใช้งาน MASS และเพื่ออำนวยความ
สะดวกในติดตามความคืบหน้าพัฒนาการของ MASS และในการประชุมของคณะ
กรรมการความปลอดภัยทางทะเลครั้งที่ 105 ที่จัดขึ้นเมื่อเมษายน 2022
ได้ริเริ่มพัฒนาตราสารตามเป้าหมายใหม่เพื่อควบคุมการใช้งานของ MASS
และยังเห็นชอบกับการพัฒนาและแก้ไขประมวลข้อบังคับสำหรับ MASS ที่อาจ
จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2028 ที่จะเป็นประมวลข้อบังคับผ่านอนุสัญญา
ระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล หรือ SOLAS และตราสาร
อื่นๆขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น
– บทบาทและความรับผิดชอบของ “นายเรือ” เมื่อมีการควบคุมเรือจากระยะไกล
– บทบาทและความสามารถของลูกเรือของ MASS
– คำจำกัดและข้อกำหนดความของ “สถานี หรือ ศูนย์ควบคุมระยะไกล”
– คำจำกัด ความรับผิดชอบ ความสามารถที่จำเป็นของ “ผู้ปฏิบัติงานควบคุมระยะไกล”
ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าทั้งในด้านวิจัยแต่ความเป็นไปได้ในการนำเอา MASS
มาใช้ในเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอาจจะยังไม่เกิดขึ้นภายในเร็วๆ นี้ อันเนื่องมาจาก
ยังมีความขัดแย้งระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ยกขึ้นมาข้างต้นยังมีเรื่องของความปลอดภัย
การใช้งานจริง อย่างเช่นเรือที่ไม่ใช่ MASS (เรือประมง, เรือขนาดเล็ก) จะสื่อสารกับ MASS ได้หรือไม่อย่างไร หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับ MASS นั้น
ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านดาวเทียม อาจเสี่ยงต่อการโจมตี
ทางไซเบอร์ อย่างเช่นการเข้าถึงระบบบนเรือเพื่อปลอมแปลงสัญญาณระบุตัวตนและตำแหน่งของเรือ แล้วขโมยเรือรวมถึงสินค้าไปทั้งลำ และการแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้
ก็ทำได้ยาก เนื่องจากขาดคนประจำเรือที่สามารถเข้าควบคุมเรือกลับคืนมา หรือปัญหาความรับผิดทางกฎหมาย ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ใครควรรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุดังกล่าว
ในทางกลับกันถ้าระบบอัตโนมัติสามารถเข้ามาเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมขนส่ง
ทางทะเลได้สำเร็จ คนประจำเรือในปัจจุบันและอนาคตจะต้องเตรียมตัวหรือเปลี่ยน
แปลงตัวเองอย่างไร ทักษะความสามารถใดที่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งในหลาย
ประเทศเริ่มมีการเตรียมการในเรื่องนี้แล้ว แต่ประเทศไทยอาจยังมีความตระหนัก
ต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาถึงไม่มากพอ อ้างอิงได้จากการสืบค้นข้อมูลในเรื่อง
MASS ของประเทศไทยที่ยังมีจำนวนน้อยอยู่มาก ประกอบกับประเทศไทย
ไม่ใช่ประเทศที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีทางเรือมากนัก จึงอาจจำเป็นต้อง
เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง
มิฉะนั้นอุตสาหกรรมขนส่งทางทะเลของประเทศไทย
อาจจะโดน “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” โดยไม่รู้ตัว
Digital Disruption (การเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล)(3)
การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ก้าวหน้าขึ้น
จนอาจถึงขั้นไม่ต้องใช้แรงงานคน มักเป็นการเปลี่ยนอย่างทันทีทันใดจนทำให้
รูปแบบการทำงานแบบเดิมต้องยุติลง เช่น การใช้หุ่นยนต์ทำงานซ้ำซากแทน
แรงงานคน การถ่ายภาพที่ใช้ฟิลม์มาเป็นการใช้กล้องดิจิทัลซึ่งบันทึกภาพ
เป็นข้อมูลทันที การทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีความสามารถในการตัดสินใจเอง
โดยใช้หลักการปัญญาประดิษฐ์
ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย
Related Article
Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020