< 1 MIN READ

ประเทศไทยกับการประมงเเบบยั่งยืน!

ไทยเราเอาจริงกับการจัดการการทำประมงผิดกฎหมาย
< 1 MIN READ

ประเทศไทยกับการประมงเเบบยั่งยืน!

ไทยเราเอาจริงกับการจัดการการทำประมงผิดกฎหมาย...

เรื่องดีต้องชื่นชม! IUU ชื่นชมไทย กับการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย

ประเทศไทย กับการประมงเเบบยั่งยืน!

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมประมงไทยได้เติบโตแบบก้าวกระโดด 

โดยมี Fishery GDP ของไทยมีมูลค่าประมาณ 3,285 ล้านยูโร หรือประมาณ 1.14 แสนล้านบาท

และมีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปสินค้าอาหารทะเลและประมงอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี

ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศผู้ผลิต แปรรูป เพื่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลอันดับต้นๆ ของโลก

ในขณะที่มุ่งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจและเป้าการส่งออก แต่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสังคมก็ต้องไม่ถูกละเลย

ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำประมงตามวิถีแบบเดิมๆ ให้ก้าวทันกับธุรกิจและอุตสาหกรรมในระดับโลก

การประมงแบบยั่งยืนนี้ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อทำตามข้อเสนอแนะของอียูเท่านั้น (เพื่อให้ค้าขายและส่งออกไปอียูได้)

แต่ต้องมองเป้าหมายหลัก เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

และการมีนโยบายประมงที่มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นสำคัญ

จึงได้มีการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง (Fisheries Monitoring Center : FMC) ขึ้น

โดยมีการติดตั้ง ระบบติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) โดยใช้ระบบดาวเทียม

เพื่อคอยตรวจสอบเส้นทางและพฤติกรรมของเรือประมง และคอยเฝ้าระวังเพื่อลดจำนวนเรือประมงกลุ่มเสี่ยง

ทั้งยังกำหนดมาตรการควบคุมเรือประมงนอกน่านน้ำ และเรือขนถ่าย ด้วยระบบ (Electronic Reporting System : ERS)

และมีการติดตั้ง CCTV (Semi/Near Real-time) ที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา

จนในการประชุมเรื่องความร่วมมือต่อต้านประมงผิดกฎหมายระหว่างอาเซียนและแปซิฟิก

ครั้งที่ 1 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าได้รับคำชมจาก

ทาง องค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าเป็น ‘แบบอย่างประมงยั่งยืน’

ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้ผลที่น่าพอใจร่วมกันระหว่างอาเซียน-แปซิฟิก ที่เห็นพ้องกัน

ในการสร้างความร่วมมือทางด้านประมงยั่งยืนเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร (food security)

เป็นการร่วมมือกันจากกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศและกลุ่มแปซิฟิก 16 ประเทศ

นอกเหนือจากนี้ กลุ่มประเทศอาเซียนก็พร้อมร่วมมือกับกลุ่มประเทศแปซิฟิก

ในการต่อต้านประมงผิดกฎหมาย ที่สอดคล้องกับ SDG ขององค์การสหประชาชาติ

โดยไทยได้รับคำชื่นชมในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)

จนเป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ (UN)

ซึ่งประเทศไทยมีฐานะเป็นประธานอาเซียนริเริ่มนโยบายประมงอาเซียน (ASEAN General Fisheries Policy)

และการจัดตั้งเครือข่าย อาเซียนในการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย (ASEAN Network for combating IUU fishing)

และทางที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย

ได้รับการเชิญชวนจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลและประมงอินโดนีเซีย

ให้ร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมประมงกับอินโดนีเซีย โดยมีสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นพิเศษ

นับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งของ วงการประมงไทย

และก็คงต้องรอดูแนวโน้มในอนาคตว่า การประมงไทย ของเราจะไปในทิศทางไหน

โดย Ship Expert Technology ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่านดาวเทียม

และระบบ CCTV เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ‘การประมงแบบยั่งยืน’ ในครั้งนี้อีกด้วย

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020