วันนี้แอดขอเปลี่ยนแนวมาพูดคุยกันในประเด็นเศรษฐกิจใหม่ ที่จะเป็นอุตสาหกรรม New S-curve ของประเทศไทยเรากันหน่อยดีกว่าครับ

“ คุณ เกริก วิไลมาลย์ ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารบริษัท Ship Expert Technology ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายใต้โครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศใหม่ (#NewSpaceEconomy) ของประเทศไทย ที่จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ #GISTDA

ในวันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและผลักดันซึ่งแอดจะมาเล่าให้ฟังในโอกาสหน้า ส่วนประเด็นเรื่องเศรษฐกิจอวกาศที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ ถึงแม้จะไม่ได้ มีความเกี่ยวข้องกับวงการเรือโดยตรง แต่ก็มีประเด็นที่วงการเรือของเรา อาจจะต้องใช้เทคโนโลยีอวกาศในการพัฒนากิจการทางทะเล ต่อไป

#Spaceeconomy หรือ “เศรษฐกิจอวกาศ” หมายถึงกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “การสำรวจ, การวิจัย, การจัดการ, และการใช้พื้นที่บนอวกาศ” ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มความมั่นคง และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนบนโลกโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ เช่น การเก็บข้อมูล, การนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ประโยชน์, การคาดการณ์สภาพอากาศ, การติดตามแหล่งพลังงาน, การนำส่งสัญญาณสื่อสาร,  การทำวิจัยและการพัฒนาทางอวกาศ, การให้บริการดาวเทียม,  การเดินทางในอวกาศและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับอวกาศ ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างรายได้ และส่งเสริมความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันพบว่าเศรษฐกิจอวกาศมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 8.1 มีมูลค่าสูงราว 415 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้มีการคาดการณ์ในอนาคตว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับอวกาศจะมีแนวโน้มสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2040

จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจอวกาศเป็นหนึ่งในสาขาแห่งอนาคตที่มีความสำคัญและเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

ปัจจุบัน เทคโนโลยีอวกาศไม่ถูกจำกัดไว้เพียงแค่กับภาครัฐเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ โดยสนับสนุน ผู้ประกอบการในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถสร้างรายได้ ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ความสำคัญของเศรษฐกิจอวกาศกับประเทศไทย

“เมื่ออุตสาหกรรมอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป”

ในฐานะคนทั่ว ๆ ไป อาจจะยังไม่รู้จักและเข้าใจว่าเศรษฐกิจอวกาศมีบทบาท และความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตประจำวันของเรา สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลกําหนดให้อุตสาหกรรมอวกาศเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-Curve) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตของประเทศ (New Engine of Growth)  เศรษฐกิจอวกาศจึงมีบทบาทใหญ่ในการสนับสนุนและประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น  ภาคอุตุนิยมวิทยา การแพทย์ โทรคมนาคม การขนส่ง การเดินเรือ การบิน การพัฒนาเมือง ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆที่เราใช้กันทุกวัน โดยทุกวันนี้พวกเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าได้ใช้งานเทคโนโลยีอวกาศกันอยู่ ซึ่งเทคโนโลยีอวกาศได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรา เช่น การพยากรณ์ สภาพอากาศ การดูโทรทัศน์รายการโปรดจากต่างประเทศ การใช้ GSP นำทาง เมื่อเราจะเดินทางไปที่ต่าง ๆ

การประชุมวีดีโอระหว่างประเทศ การใช้อินเตอร์เน็ตบนเครื่องบินหรือเรือเดินทะเล การประเมินผลกระทบของภาวะโลกร้อนและตรวจจับกิจกรรมต่างๆ เช่น การบุกรุกป่า การประมงผิดกฎหมาย การใช้ดาวเทียมเพื่อสำรวจและจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ การสำรวจความแอดอัดของชุมชน  เป็นต้น  

Movement ประเทศในการผลักดัน #NewSpaceEconomy

“รู้หรือไม่ประเทศไทย มีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากกว่า 35,600 กิจการซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 56,000 ล้านบาทต่อปีสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีสามารถส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมากในอนาคตได้”

สำหรับประเทศไทยแม้จะยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องของกิจการอวกาศโดยตรงแต่ในช่วงที่ผ่านมาได้มีความพยายามผลักดันให้เกิด แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) ซึ่งเป็นกฎหมายรองรับเศรษฐกิจอวกาศโดยเฉพาะโดยร่างแผนแม่บทดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 ธ.ค. 2565ซึ่งร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติฉบับนี้ จะถูกขับเคลื่อนภายใต้ 8 ยุทธศาสตร์โดยมีเป้าหมาย เพื่อใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศในการรักษาความมั่นคงสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การให้บริการสาธารณะและเชิงพาณิชย์รวมถึงขับเคลื่อนกิจการอวกาศแบบบูรณาการ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอวกาศที่มีคุณภาพ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับกิจการอวกาศและร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการอวกาศ ในห้วงปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวสำคัญที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจอวกาศของประเทศไทยเราดังต่อไปนี้

โครงการ #THEOS-2 เป็นโครงการของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ #GISTDA ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 14 มีนาคม 2560 และได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 9 ต.ค. 2566 ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้  ถือเป็นการปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทย หลังจากการส่ง THEOS-1 หรือไทยโชต ขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี 2551 THEOS-2 ได้เริ่มออกแบบและพัฒนา ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีวิศวกรไทยกว่า 20 ชีวิตร่วมสร้างและออกแบบตั้งแต่แรก โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างดาวเทียมสำรวจโลกและโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศที่สำคัญของประเทศไทย สร้างความต่อเนื่องจากการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ THEOS-1 ซึ่งปฏิบัติงานในห้วงอวกาศมามากกว่าสิบปีแล้วยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย เพราะภายใต้ โครงการ THEOS-2 การที่วิศวกรไทยได้ร่วมสร้างและออกแบบนั้นถือได้ว่าเป็นพัฒนาบุคลากรและยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ โดยโครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆได้แก่

1.การพัฒนาแอปพลิเคชันภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียม

2.การสร้างดาวเทียม ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียมหลัก 1 ดวง (#THEOS-2)และดาวเทียมเล็ก 1 ดวง (#THEOS-2A) ดาวเทียม #THEOS-2 เป็นดาวเทียมประเภทสำรวจโลกใช้ในการเก็บภาพความละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตรต่อพิกเซล (Very High Resolution)

โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจัดการภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการเกษตรการจัดการเมือง และทรัพยากรธรรมชาติ

ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างจัดตั้ง “ท่าอวกาศยานในประเทศไทย     

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และ Korea Aerospace Research Institute (KARI) ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้าง #ท่าอวกาศยาน หรือ  #Spaceport ในประเทศไทย โดยเป้าหมายของความร่วมมือนี้คือการจัดตั้ง #Spaceport ในประเทศไทย KARI และรัฐบาลเกาหลีจะช่วยในการศึกษาและให้ความรู้ในการสร้าง #Spaceport ตลอดจนโอนความรู้ด้านนี้ให้แก่บุคลากรของประเทศไทย ซึ่งการศึกษาความเป็นไปได้นี้จะครอบคลุมทั้งด้านภูมิศาสตร์ เช่น ความเหมาะสมของสถานที่ และกฎระเบียบในการดำเนินการ #Spaceport โดยการศึกษาเชิงลึกนี้จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่สนใจเข้ามาจัดตั้ง #Spaceport ในประเทศไทยอีกด้วย เบื้องต้น พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่มีความเหมาะสมถึง 5 ประการ คือ

1.ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีผลต่อการนำส่งอวกาศยานที่จะช่วยลดการสิ้นเปลืองของพลังงาน

2.มีทะเลขนาบ 2 ฝั่งซ้าย-ขวา มีมุมปล่อยอวกาศยานได้หลากหลายแบบ

3.มีแนวชายฝั่งที่เป็นคาบสมุทร สามารถกำหนดจุดหรือ Drop Zone ที่ไม่กระทบกับพื้นที่บนฝั่ง และยังสามารถออกเก็บกู้วัตถุที่ตกลงมาได้ง่าย

4.มีระบบโลจิสติกส์ที่เข้าถึงง่าย หลายหลาย มีระบบท่าเรือน้ำลึกและท่าอากาศยาน

5.ไม่มีภัยพิบัติรุนแรง ความได้เปรียบดังกล่าวจะสร้างโอกาศในการพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศของประเทศให้เติบโตต่อไป

โครงการ Space Economy: Lifting Off 2021  เป็นโครงการของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ #NIA  มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยีอวกาศหรือสเปซเทค (#SpaceTech) ให้เกิดการพัฒนาระบบหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการทางอวกาศ เรียกได้ว่าเป็นส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศในภาคธุรกิจ โครงการนี้เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 โดยการคัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีความเป็นไปได้ที่สุดในการเป็นผู้นำในการนำเสนอแนวคิดเทคโนโลยี และการพัฒนารูปแบบธุรกิจในด้านอวกาศไปสู่ระดับของธุรกิจที่เป็นจริงได้ต่อไป ซึ่งผู้ชนะในโครงการนี้ ได้แก่ อันดับ 1 บริษัท NBSpace ผู้ออกแบบและพัฒนาดาวเทียมดวงเล็กเพื่อใช้สื่อสารกับภาคพื้นดิน อันดับ 2 บริษัท Irissar สตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีเรดาห์ เซ็นเซอร์และวงจรความถี่สูงสำหรับการตรวจวัดที่ต้องการความแม่นยำสูงและระบบที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ อันดับ 3 บริษัท Plus IT Solution ผู้ออกแบบระบบวิเคราะห์พื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ และการใช้ประโยชน์อื่นๆ     

ความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSCO) ในโครงการ APSCO CubeSat Competition (ACC)   ความร่วมมือดังกล่าวเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรไทยสามารถนำความรู้ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างดาวเทียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กชนิด #CubeSat (ดาวเทียมขนาดเล็กที่มีต้นทุนต่ำ) ให้แก่ประเทศสมาชิกทั้ง 8 ประเทศซึ่งรวมถึงไทย จีน ปากีสถาน อิหร่าน เปรู มองโกเลีย บังกลาเทศ และทูร์เคีย โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนที่เข้าร่วมในโครงการได้มีโอกาสในการเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบภารกิจและดาวเทียมไปจนถึงการสร้าง    

การจัดงาน Thailand Space Week “สัปดาห์อวกาศแห่งชาติ” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (#GISTDA) และหน่วยงานพันธมิตรด้านอวกาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดงาน Thailand Space Week 2023 หรือ สัปดาห์อวกาศแห่งชาติ ปี 2566 ในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร งานนี้เป็นการร่วมมือกันของผู้ประกอบการ กลุ่ม Startup และกลุ่มพัฒนานวัตกรรมจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ในด้านวิศวกรรมอากาศยานและการบิน การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากว่า 1,000 คนThailand Space Week เป็นงานด้านอวกาศระดับนานาชาติครั้งแรกในประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย การพัฒนานวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากอวกาศ การส่งเสริมธุรกิจอวกาศใน Global Value Chain การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศ การวิจัยและพัฒนาด้านอวกาศ และการพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศ

Reference