
เมอร์ไลอ้อนไม่ยอมตกเรือ ขอเกาะกระแสพัฒนาโซลูชันลดโลกร้อนกับเขาบ้าง
เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จากธุรกิจหลายด้านในสิงคโปร์ อันได้แก่ Keppel Data Centres, Chevron, Pan-United, Surbana Jurong ร่วมกับมูลนิธิงานวิจัยแห่งชาติ ได้เซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมกันพัฒนาแผนลดการปล่อยคาร์บอนและระบบดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนี่นับเป็นครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นในประเทศ
ซึ่งนี่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์การพัฒนาคาร์บอนต่ำระยะยาวที่ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกระดับสูงสุดของปี 2030 ลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 และสู่ระดับไร้ก๊าซเรือนกระจกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้
แต่ก่อนจะพิชิตเป้าหมายที่ว่านั้น สิงคโปร์ได้ให้สัญญาภายใต้ความตกลงปารีสว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 36% เมื่อเทียบกับระดับของปี 2005
โดยตามสถิติตัวเลขแล้ว สิงคโปร์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเล็กน้อยมากเพียง 0.11% ของโลกเท่านั้นเอง แต่กลับผลกระทบจากโลกร้อนกลับมากมาย
ซึ่งผลกระทบที่คาดคือ ระดับน้ำทะเลรอบเกาะจะเพิ่มขึ้นถึง 1 เมตรในปี 2100 (หากปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงต่อเนื่อง)
เทคนิคที่จะร่วมกันพัฒนาภายใต้ MOU คือ Carbon Capture, Utilisation, and Sequestration (CCUS) ซึ่งคือการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน
CCUS ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยนำไปใช้กับการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการทางอุตสาหกรรมได้
แม้มีหนทางในการใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาดและพัฒนาระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม แต่ CCUS ยังคงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาและใช้ควบคู่ไปด้วย เพราะระดับการสะสมคาร์บอนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาที่ท้าทายที่สุดคือการทำให้ CCUS มีความเป็นไปได้ทางการค้าและคุ้มค่าต่อการลงทุน
CCUS จะถูกนำไปปรับใช้ร่วมกับอุตสหากรรมหลักของประเทศคือ ด้านพลังงาน ด้านสารเคมี และด้านการก่อสร้าง
นอกจากจะพัฒนา CCUS แล้ว ภายใต้ MOU เดียวกันนี้ยังมีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากครีโอเจนส์ (cryogens), เมมเบรนส์ (membranes), และไฮโดรเจนอีกด้วย
อ้างอิง
Tags
ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย
Related Article
Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020