2 MIN READ

IMO 2020 : MARPOL ANNEX VI ความท้าทายด้านสิ่งเเวดล้อมกับทางเลือกของผู้ประกอบการเรือในปี ค.ศ. 2020 เเละผลกระทบที่จะตามมาเป็นวงกว้างงง!!

รู้หรือไม่! เรือขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจำนวน 15 ลำ ปล่อย SOx มากกว่ารถยนต์ทั้งโลกปล่อยรวมกันเสียอีก!
.
หากใครยังจำสาวน้อยที่ชื่อว่า “เกรต้า ธันเบิร์ก” นักเคลื่อนไหวทางภูมิอากาศ
ที่ออกมากล่าวสุนทรพจน์เรื่องการเรียกร้องรัฐบาลสหรัฐจริงจังกับการออกกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษทางอากาศ 
โดยเธอเลือกที่จะเดินทางมาในงาน UN Climate Action Summit 2019 ที่เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยใช้เรือเนื่องจากเรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเครื่องบิน
 
เเต่รู้หรือไม่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจจากรายงานของหนังสือพิมพ์ “The Guardian” พบว่า 
 
         “เรือสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจำนวน 15 ลำในขณะนี้ปล่อยสารกำมะถันออกสู่ชั้นบรรยากาศรวมกันเเล้วมากกว่าจำนวนสารกำมะถันที่รถยนต์บนท้องถนนทั้งโลกปล่อยรวมกันเสียอีก”
องค์กรทางทะเล “International Maritime Organization” หรือ “IMO” ในฐานะหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาติก็ไม่ได้นิ่งเฉย 
ได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเเละสารก่อมะเร็ง จาก “เรือ” ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ที่ประกาศไปตั้งเเต่เดือนตุลาคมในปี ค.ศ. 2019 
โดยที่ในปัจจุบันซึ่งเหลือเวลานับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ที่วงการเรือของโลกกำลังเข้าใกล้สู่ความเปลี่ยนเเปลงครั้งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2020 กับการบังคับใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ (MARPOL ANNEX VI) ที่ควบคุมการปล่อยสารกำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) ออกสู่ชั้นบรรยากาศจากเดิมที่เรือที่ใช้น้ำมันเตาธรรมดาจะปล่อย SOx ประมาณ 2-3.5% เเต่การบังคับใช้ใหม่ที่จะเริ่มในครั้งนี้ เรือขนส่งสินค้าทุกลำจะต้องควบคุมการปล่อยสารกำมะถันให้ลดลงเหลือเพียง 0.5% เท่านั้น!
.
สำหรับผู้ประกอบการเรือสินค้าถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ
ที่คาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินธุรกิจให้มีกำไร กับการดำรงไว้ซึ่งอากาศที่บริสุทธิ์สำหรับลูกหลาน 
ซึ่งในปัจจุบันมีไม่กี่ทางเลือกสำหรับการปรับตัวเพื่อปฏิบัติตามเเละคงไว้ซึ่งผลประกอบการที่ดี ได้เเก่
.
1) ใช้เชื้อเพลิงคุณภาพสูง (Low-Sulfur Fuel) เพื่อลดการปล่อย SOx.
การใช้น้ำมันที่มีสารกำมะถันต่ำ (LFSO) ได้เเก่ Marine Diesel Oil หรือ Gas Oil จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงกว่าการใช้น้ำมันเตาประมาณ 200 SGD ต่อเมตริกตัน 
อีกทั้งราคาน้ำมัน LSFO จะยังมีเเนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีกตาม Demand ของตลาดในปี ค.ศ.2020 โดยในขณะที่ Supply จะยังคงตัวเเละต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการเพิ่มกำลังการผลิต (1-2 ปี) เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนความต้องการในตลาดโลก
โดยในทางกลับกัน ราคาของเชื้อเพลิง HFSO จะลดต่ำลงเพราะ Supply มากกว่า Demand โดยการจะเเปลงสภาพเชื้อเพลิง HFSO ให้เป็น LSFO นั้นยังถือเป็นเรื่องที่ใหม่เเละยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักในการพัฒนาระบบ Desulphurisation (ในปัจจุบันมีเพียงที่ประเทศญี่ปุ่น)
.
2) ติดตั้ง Scrubber เพื่อกรอง SOx เเละยังคงสามารถใช้น้ำมันเตา (HFSO) ที่เป็นเชื้อเพลิงปกติต่อได้
Sulfur Dioxide Scrubber คือ อุปกรณ์บำบัดสารกำมะถัน SOx เป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดการเเปลงสภาพของสารกำมะถันที่จะถูกปล่อยในรูปของเเก้สเสียให้รวมตัวกันกับน้ำทะเลที่นำเข้าสู่ระบบผ่าน Sea Chest เเละปล่อยลงสู่ทะเล Overboard ในรูปของของเหลว (ในเขตที่ได้รับการอนุญาตให้ปล่อยได้) มีอยู่ 2 ทางเลือกสำหรับการใช้งานคือเเบบ Open-Loop ที่สามารถใช้ได้เเค่ใน Emission Control Areas (ECAs) เเละ Closed-Loop สำหรับใช้ในพื้นที่ Zero Discharge Area 
ข้อดีของการติดตั้ง Scrubber คือจะยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ HSFO ได้ปกติ เเต่ปัญหาก็คืออุปกรณ์มีราคาค่อนข้างสูง (ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 ปีถึงจะคืนทุน), ใช้เวลาสั่งนานเเละต้องเสียเวลาในการติดตั้งที่อู่เป็นเวลา 3-4 อาทิตย์ โดยในปัจจุบันมีเพียง 1% ของเรือสินค้าทั่วโลกเท่านั้นที่ติดตั้งไปเเล้ว
.
3) ควบคุมความเร็วของเรือเเละจัดการเส้นทางเดินเรือ
การลดความเร็วของเรือในการเดินทางลงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการเพื่อลดอัตราการปล่อยสารกำมะถันรวมทั้งยังลดอัตราการใช้น้ำมันลงด้วย 
ยกตัวอย่างเรือสินค้าขนาดใหญ่อาจจะเชื้อเพลิงน้ำมันเตา 280-300 ตันต่อวันที่ความเร็วสูงสุด เเต่อาจจะใช้เพียง 80-90 ตันต่อวันที่ความเร็วต่ำสุด การเผาไหม้น้อยลงอัตราการปล่อย SOx ก็น้อยลง 
เเต่ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาผลเสียเพราะความเร็วที่ช้าลงทำให้เสียระยะเวลาในการเดินทาง การส่งสินค้าช้ากว่าปกติ ส่งผลต่อผลประกอบการเเละจำนวนการขนส่ง (Capacity) 
.
4)การจัดการเรื่อง Bunkering Port จะมีความยุ่งยากเเละซับซ้อนมากขึ้น
หลังจากที่ IMO 2020 บังคับใช้ สิ่งที่ผู้ประกอบการเรือสินค้าจะต้องคำนึงถึงในอนาคตคือการจัดการเรื่องการเติมเชื้อเพลิงให้เพียงพอในการไปยังที่หมายปลายทาง 
เพราะความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ LSFO ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรู้ได้ว่าเชื้อเพลิง LFSO ที่ต้องการนั้นจะมีอยู่ที่ไหน? เหลือพอไหม? ถ้าเหลือจะเหลือเท่าไหร่? จะมีราคาเท่าไหร่?  
ซึ่งผลกระทบคือเรื่องเวลาเเละค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปกับการเดินทางไปยังเมืองท่าเฉพาะเพื่อเติมเชื้อเพลิงเเละการรอคิว
ดังนั้นการจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพให้เพียงพอในเเต่ละทริปถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
.
5) เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติ (Liquefied Natural Gas : LNG) เพื่อใช้เป็นพลังงานหลัก
พลังงานสะอาดจาก LNG ถือเป็นเทรนด์พลังงานใหม่ของโลกที่คาดการณ์ว่าจะมาอย่างเเน่นอนเเละจะจริงจังมากขึ้นในไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า 
โดยในปัจจุบันเรือที่ต่อขึ้นใหม่หลายๆลำออกเเบบระบบพลังงานหลักให้ใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิงหลักได้เเล้ว 
เเต่ปัจจัยสำคัญก็คือมันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเรือระบบเก่าที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลักจะเปลี่ยนมาใช้ LNG 
เนื่องจากตัวระบบเชื้อเพลิง LNG มีราคาค่อนข้างสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ใช้เวลานานในการติดตั้ง 
ซึ่งยังต้องคำนึงถึงถังเชื้อเพลิง LNG มีความต่างจากระบบเชื้อเพลิงปกติคือใหญ่กว่าใช้พื้นที่เยอะกว่า อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงสถานีเติมเชื้อเพลิงในอนาคตอีกด้วย
.
ทั้งนี้จากผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนเเปลงอาจจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังธุรกิจการขนส่งเเละธุรกิจพลังงานอื่นๆอีก ได้เเก่
“ธุรกิจการขนส่งทางอากาศยาน” – จากรายงานของ IATA  ระบุว่าการบังคับใช้ของ IMO2020 อาจส่งผลโดยตรงกับราคาของน้ำมัน JET ที่ใช้ในเครื่องบิน เนื่องจากความต้องการของเชื้อเพลิง LFSO จากเรือที่มากขึ้น ซึ่งสำหรับธุรกิจการบินค่าเชื้อเพลิงถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักที่มีอัตราส่วนสูงเเละส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการ
“ธุรกิจการขนส่งทางราง” – การดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมัน Diesel จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการเช่นเดียวกันกับธุรกิจการขนส่งทางอากาศยาน
“ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน” – โรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภท LSFO จะถือเป็นช่วงขาขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่วนโรงกลั่นที่ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เป็น HFSO จะได้รับผลกระทบในเเง่ของราคาที่จะลดต่ำลง 
“ธุรกิจนำเข้าสินค้าเกษตรกรรม” – ค่าระวางขนส่งทางเรือจะมีการปรับตัวขึ้นทั่วโลกเพื่อรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับราคาของสินค้าที่ขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าประเภทเกษตรกรรม
.
ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านสำหรับกองเรือไทยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เเละถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจกับการอัพเกรดกองเรือของประเทศให้ทันกับความตื่นตัวด้านสิ่งเเวดล้อมของสหประชาชาติ
.
อ้างอิง

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020