< 1 MIN READ

รู้หรือไม่? เส้นประ 9 เส้น (nine-dash line) ที่จีนอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ จริง ๆ แล้วเคยมี 11 เส้น️

เรื่องนี้น่าสนใจยังไง?

เพราะทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์มากมาย ประเทศโดยรอบต่างอ้างสิทธิ์ครอบครองพื้นที่และยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด ที่ผ่านมามีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องระหว่าง จีน, ไต้หวัน, บรูไน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ เวียดนาม

เรื่องราวต้องย้อนไปถึงแผนที่ของจีนในปี 1947 ที่จีนยังเป็นสาธารณรัฐจีน (Republic of China-ROC) ตอนนั้นจีนได้ลากเส้นประไว้ทั้งหมด 11 เส้น ครอบคลุมพื้นที่ที่จีนอ้างเป็นเจ้าของมาแต่โบราณกาลและรวมถึงพื้นที่ในทะเลที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ต่อมาเมื่อก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ประกาศเป็นตัวแทนจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว จีนยังคงยึดถือการเป็นเจ้าของสิทธิทางทะเลตามแผนที่เดิมนั้นทั้งหมด

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 สมัยนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล จีนได้ยกเลิกเส้นประ 2 เส้นที่ลากผ่านอ่าวตังเกี๋ย เพื่อแสดงไมตรีจิตต่อเวียดนามเหนือ ซึ่งถือเป็นชาติคอมมิวนิสต์เพื่อนบ้าน

ดังนั้นจึงเหลือเพียงเส้นประ 9 เส้นบนแผนที่ ซึ่งก็ครอบคลุมน่านน้ำในทะเลจีนใต้ร่วม 90% ไกลออกจากแผ่นดินใหญ่ไปถึง 2,000 กิโลเมตร

แผนที่นี้มันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเกิดมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งทำขึ้นในปี 1982 (UNCLOS) โดยยึดถือลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ ซึ่งในสัญญาระบุว่าประเทศมีอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดิน และมีสิทธิเฉพาะในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปอีก 200 ไมล์ทะเล

พอเป็นแบบนี้เขตแดนมันก็เกิดการทับซ้อนกันจนเป็นปัญหา จีนโต้แย้งว่า แผนที่เส้นประ 9 เส้นเกิดขึ้นตามระเบียบโลกใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีกฎหมายรองรับ และทำตามการอนุญาตของชาติฝ่ายสัมพันธมิตร อีกทั้งเหล่าประเทศที่มีปัญหากับจีน รวมทั้งสหรัฐฯ ที่เข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทในตอนนี้ ก็มิได้แสดงการคัดค้านในเวลานั้น

จีนได้ให้สัตยาบันต่อ UNCLOS ในปี 1992 แต่ก็ไม่เคยมีการยื่นเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ภายในเส้นประ 9 เส้นอย่างเป็นทางการเลย

นักวิเคราะห์มองว่า จีนจงใจไม่ให้คำนิยามความหมายของเส้นประ 9 เส้นในทางกฎหมาย และไม่มีการชี้แจงว่า มีสิทธิอะไรบ้างภายในพื้นที่ดังกล่าว สร้างความกำกวมคลุมเครือให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่จีนชอบใช้มานาน และไม่เคยต่อสู้กับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเปิดเผย แต่ชอบเหลือช่องว่างเผื่อไว้ให้อ้างอย่างไม่ชัดเจนต่อไปเรื่อย ๆ

สถานการณ์ในเขตทะเลนี้ครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา เอาแค่ช่วงปี 2016-2019 ได้มีเรือยามชายฝั่งและเรือรบของจีนรุกล้ำน่านน้ำของมาเลเซียรวมทั้งสิ้น 89 ครั้ง และแม้มีการเตือนขับไล่ให้ออกไป แต่เรือก็จะวนเวียนอยู่ในพื้นที่ต่อไป นี่ยังไม่นับรวมการรุกล้ำกันและกันของชาติอื่น ๆ

และในท่ามกลางยุคโควิด-19 แบบนี้ เรื่องราวมันดูจะยิ่งร้อนแรงมากกว่าเดิม เมื่อสหรัฐฯ ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ‘ไม่ยอมรับ’ การอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีน

บทสรุปจะเป็นอย่างไรนั้นยากคาดเดา แค่ขออย่าให้มีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นก็แล้วกัน เท่าที่ผ่านมาต่างฝ่ายเลือกเพียงแค่การข่มขู่กันให้เป็นประเด็นเท่านั้น

อ้างอิง

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020