< 1 MIN READ

กรณีศึกษาคอนเทนเนอร์ปลิว เหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เราจะเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้นและสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้

เรือเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย

– 26/10/2017: เรือ Ever Smart โหลดตู้คอนเทนเนอร์และเช็กความพร้อมทุกอย่างที่ท่าเรือก่อนออกเดินเรือจากเมืองไทเปในไต้หวัน พอนาฬิกาบอกเวลา 04.12 น. เรือออกจากท่า มุ่งหน้าสู่เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

– 27/10/2017: ช่วงเช้ากัปตันเรือเช็กสภาพอากาศ พบการก่อตัวของพายุดีเปรสชันสองลูก กัปตันตัดสินใจปรับเส้นทางเดินเรือโดนเบนทิศทางลงใต้มากกว่าเดิมเพื่อเลี่ยงพายุตามคำแนะนำของ Weathenews Inc.

– 29/10/2017: เรือเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย มีลมพัดแรง กัปตันสั่งลูกเรือปฏิบัติตามขั้นตอนการเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย และให้ลูกเรืออยู่แต่ภายในห้องเคบินของตน ซึ่งเรือได้แล่นผ่านไปทั้งแบบนั้นในเส้นทางเดิม

– 30/10/2017: เรือเกิดการโคลงและสั่นสะเทือนที่ทั้งรุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น กัปตันรุดไปที่สะพานเรือ เพื่อประเมินสถานการณ์ เกิดเสียงดังและเสียงปะทะมาจากท้ายเรือ แม้เสียงไม่ได้ดังมากแต่ทุกคนรับรู้ได้ กัปตันลดความเร็วเรือเพื่อลดการโคลงและสั่นสะเทือน จนกระทั่งเลยเที่ยงวันเล็กน้อย สภาพอากาศดีขึ้น กัปตันสั่งตรวจสอบเรือ และพบว่า ตู้คอนเทนเนอร์ที่แถวท้ายสุดของเรือเกิดล้มลงมา กัปตันได้รับแจ้งและรีบตรวจสอบเบื้องต้น

– 31/10/2017: หลังตรวจสอบอีกครั้งอย่างละเอียด มีตู้คอนเทนเนอร์หายไป 42 ตู้ โครงสร้างเรือด้านท้ายไม่เกิดความเสียหายรุนแรง เรือเดินทางต่อไปจนถึงท่าเรือเมืองลอสแองเจลิสในวันที่ 08/11/2017 และเริ่มเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสียหาย

การตรวจสอบและสืบหาสาเหตุ

– เรือ Ever Smart ถูกสร้างเป็นเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งาน โดยช่วงเกิดเหตุบรรทุกน้ำหนัก 93% ของน้ำหนักเต็มพิกัด ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติตามขั้นตอนมาตรฐาน แต่ก็ยังเกิดการล้มอยู่ดี

– สรุปมีตู้คอนเทนเนอร์สูญหาย 42 ตู้และตู้ที่มีโครงสร้างเสียหาย 34 ตู้

– อุบัติเหตุการล้มเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกันคือ การกระจายตัวของน้ำหนักคอนเทนเนอร์, การจัดการผูกยึดโยงคอนเทนเนอร์ และลักษณะการเคลื่อนไหวของเรือ

– การล้มน่าจะเริ่มต้นจากระบบการผูกยึดโยงไม่ดีพอหรือโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์พังเสียหาย

– พบว่าแผนการผูกยึดโยงคอนเทนเนอร์โดยผู้วางแผนงานบนฝั่ง (shore planner) ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดและคำแนะนำในคู่มือของเรือ โดยมีข้อสังเกตว่า การกระจายน้ำหนักไม่เป็นไปตามที่ตารางเรียงน้ำหนักซ้อนทับดังที่กำกับไว้

– พบว่าแถวคอนเทนเนอร์ที่ล้มไม่ได้ถูกผูกยึดโยงตามข้อกำหนดและคำแนะนำ ทั้งจากมาตรฐานสากลและจากผู้ผลิตระบบผูกยึดโยง

– พบว่านอตล็อกเหล็กยึดหลายตัวไม่ได้ถูกขันหรือใช้งาน เป็นเหตุให้เหล็กยึดบางส่วนไม่มั่นคงแน่นหนา

– พบว่าไม่ได้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์คำนวณน้ำหนักอย่างที่ควร การเตือนถูกละเลยหรือไม่รับรู้

– เป็นไปได้ว่า พอเจอสภาพอากาศที่เลวร้ายถึงที่สุด จนตัวเรือเกิดการสั่นรุนแรง และยังมีลมพัดแรง ซึ่งเป็นเหตุประกอบให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นในที่สุด

บทสรุปและสถิติจาก World Shipping Coucil

บทสรุปตามรายงานการสืบสวนโดยละเอียดมีดังนี้

– บริษัทเจ้าของเรือ Ever Smart ได้ออกแผนปฏิบัติฉบับใหม่เพื่อให้กัปตันรับมือกับสภาพอากาศเลวร้ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

– แนะนำให้กัปตันให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงเมื่อเรือพบกับแรงปะทะที่ตัวเรือและแรงสั่นสะเทือนที่ท้ายเรือเมื่อพบกับสภาพอากาศเลวร้าย

– ให้เพิ่มการตรวจสอบอุปกรณ์ยึดโยงคอนเทนเนอร์ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานแม้ยามที่เรือจอดนิ่ง

– เพิ่มมาตรการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้วางแผนงานบนฝั่งได้รับการเทรนและใช้คอมพิวเตอร์คำนวณน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และเข้าใจถึงความสำคัญของพิกัดน้ำหนักและระบบการยึดโยงคอนเทนเนอร์

– จากการสำรวจจาก World Shipping Council พบว่า ในช่วงเวลา 12 ปี นับตั้งแต่ปี 2008-2019 มีคอนเทนเนอร์สูญหายไปในท้องทะเลเฉลี่ยปีละ 1,382 ตู้

อ้างอิง

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020