< 1 MIN READ

คอคอดกระเส้นทางลัดระหว่างอันดามันกับอ่าวไทยไม่เกิดขึ้นเพราะอะไร?

บทสรุป เบื้องหน้า/เบื้องหลัง ที่เรารวบรวมมานำเสนอ
< 1 MIN READ

คลองไทยเมกะโปรเจกต์ในฝันของคนไทย เเนวคิดที่เริ่มต้นมาตั้งเเต่สมัยออเจ้า ถึงวันนี้ ทำไมยังไม่เกิดขึ้นสักที? มีคำตอบ!

คลองไทย คือ เเนวคลองศึกษาหมายเลข 9A มีความยาวประมาณ 135 กิโลเมตรตัดผ่าน 5 จังหวัดได้เเก่ ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง เเละ สงขลา 

เริ่มต้นบัญญัติชื่อ ‘คลองไทย’ ในปี พ.ศ. 2548 โดย “คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคอคอดกระ” เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเรือเชื่อมระหว่างทะเลฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันบริเวณผืนดินที่เเคบที่สุดของประเทศ ซึ่งเเนวคิดนี้มีมาตั้งเเต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เเห่งกรุงศรีอยุธยา

โดยประเด็นสำคัญของการจะขุดคลองต้องพิจารณาถึง เศรษฐกิจ, ความมั่นคง, การเมือง, สังคม เเละ สิ่งเเวดล้อม

ในเเง่ของการย่นระยะเวลาการเดินเรือเเละการประหยัดค่าใช้จ่ายของเรือ

อ้างอิงจากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าของประเทศญี่ปุ่น (JETRO) ที่เปรียบเทียบการเดินเรือในเส้นทางปกติกับเส้นทางที่ต้องผ่านคลองไทย ระหว่างเมืองท่าในมหาสมุทรอินเดียกับเมืองท่าของประเทศเเถบตะวันออกไกลสามารถย่นระยะทางได้ประมาณ 899 กิโลเมตรหรือช่วยประหยัดเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น 

ทั้งนี้ยังต้องนำความกว้างของคลองเเละการยกเรือในคลองมาพิจารณาเพราะมีผลกับการ Flow ของเรือในคลองเเละการรอคิวที่จะกินเวลาของเรือที่ใช้บริการเข้าไปอีก

อีกทั้งในการเดินเรือผ่านคลองขุด จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่านำร่อง เเละค่าบริการต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหากเทียบกับการเดินเรือผ่านทางช่องเเคบมะละกาเเล้ว เรือไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเเละยังสามารถทำความเร็วได้ปกติ

ในเเง่ของความจำเป็นทางการทหาร

พบว่ามีความสำคัญเฉพาะในสถาณการณ์ที่กองทัพเรือมีความจำเป็นต้องป้องกันประเทศทั้งสองฝั่งคือฝั่งอ่าวไทยเเละอันดามันพร้อมกัน หรือใช้เป็นเส้นทางออกสู่ทะเลอันดามันในกรณีอ่าวไทยถูกปิดล้อม ส่วนข้อเสียพบว่าการมีคลองเป็นอุปสรรคเเก่การเคลื่อนกำลังพลทางบกที่ต้องใช้สะพาน ในภาวะสงครามสะพานข้ามคลองไทยจะเป็นเป้าหมายหลักอันดับเเรกในการโจมตี หรือทำลายเรือให้จมขวางการใช้งานของคลองไทย

ในเเง่ของความจำเป็นทางเศรษฐกิจกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

พบว่ายังไม่มีงานวิจัยรองรับ เเต่หากเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศที่มีคลองขุดอยู่เเล้วอย่าง ปานามา(คลองปานามา) หรือ อียิปต์(คลองสุเอช) ก็พบว่าไม่ได้มีเศรษฐกิจที่ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดหรือร่ำรวยจากการมีคลองเเต่อย่างใด อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารคลองเเละสิ่งก่อสร้างต่างๆนั้นสูงมาก หากเทียบกับรายได้ซึ่งน้อยกว่าเเละมีความไม่เเน่นอนขึ้นกับปัจจัยหลายประการที่ผู้ใช้บริการจะนำไปเปรียบเทียบเพื่อหาเส้นทางอื่นที่มีค่าบริการถูกกว่า อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าการมีคลองขุดไม่เป็นประโยชน์กับกองเรือไทยมากนักเพราะมีขนาดเล็กเเละวิ่งขนส่งจากเมืองท่าต่างๆไปยังท่าเรือหลัก (Feeder) เป็นส่วนใหญ่

สรุปจากการพิจารณาศึกษาความจำเป็นเเละความคุ้มค่าของการขุดคลองไทยที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นทั้งทางด้านการทหารเเละด้านเศรษฐกิจ 

เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการพลิกเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตเเบบก้าวกระโดด

เเต่ผลกระทบที่สามารถเห็นได้ชัดเจนคือผลกระทบทางด้านลบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละระบบนิเวศน์

อีกทั้งโครงการคลองไทยเป็นโครงการที่มีต้นทุนสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างที่ยาวนาน 

ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจเเละเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ 

การที่จะต้องกู้เงินมหาศาลจากต่างชาติมาลงทุนจึงถือว่ามีความเสี่ยงหากจะต้องลงทุนกับสิ่งที่มองเห็นเเต่ผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างประเมินค่ามิได้

 

อ้างอิง

บทความ ‘ถอดบทเรียนจากคลองคีลจำเป็นหรือไม่ในการขุดคลองไทย’ โดยพลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์, นิตยสาร TSA

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020