
“IMSAS” IMO Member State Audit Scheme 2021 ผลกระทบ 5 ข้อที่(อาจ)จะเกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่ผ่าน IMO Audit ในปี พ.ศ. 2564!!
IMO Member State Audit Scheme หรือ “IMSAS” คือ ภาคบังคับของการตรวจสอบมาตรฐานการดำเนินงานของเหล่าสมาชิกรัฐภาคีของ IMO ทั้ง 177 ประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเเนวทางการเเก้ไขยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของวงการเรือโลกเเละป้องกันความสูญเสียของสิ่งเเวดล้อมทางทะเล
โดยโปรเเกรมออกเเบบสำหรับการตรวจสอบว่ารัฐภาคีได้นำ 6 หัวใจหลักของ IMO มาอนุวัติการเเละบังคับใช้ (Implementation of IMO Instruments : III Code)
ซึ่ง 6 หัวใจหลักของ IMO ได้เเก่
IMO เริ่มทำการ Audit III Code เเก่ประเทศสมาชิกตั้งเเต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในลำดับที่ 122 โดยเป็น 1 ใน 25 ประเทศที่จะต้องถูก Audit ในปี พ.ศ. 2564
เเละนี่คือผลกระทบ 5 ข้อที่อาจจะเกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่ผ่าน IMO Audit ที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2564
1) ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
เป็นสิ่งที่เเน่นอนถึงภาพลักษณ์เเละมาตรฐานของประเทศ เมื่อเราไม่สามารถสร้างมาตรฐานความปลอดภัยต่อชีวิต, ทรัพย์สิน เเละสิ่งเเวดล้อมได้ตรงตามความต้องการของสหประชาติเราก็จะถูกจัดไปอยู่ใน “Blacklist”
เหมือนดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของการโดนใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (EU) จากกรณี IUU Fishing ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ 2558 เเละ การโดนปักธงเเดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จากเหตุการณ์การที่ตรวจสอบพบว่าสายการบินพาณิชย์ของประเทศไทยมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns: SSC) ช่วงเดือนมิถุนายนในปีเดียวกัน ซึ่งผลเสียหายที่ตามมานั้นกระทบกับทุกภาคส่วน ทั้งภาคเศรษฐกิจ, อุตสาหกรรม, ผู้ประกอบการ, เเรงงาน เเละ “ชื่อเสียงของประเทศ”
2) อาจถูกกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ
การกีดกันทางการค้ากับประเทศที่ถูกจัดอยู่ใน “Blacklist” ของ IMO จากประเทศคู่ค้าถือเป็นสิ่งที่มีเเนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นได้ที่รัฐบาลของประเทศใดๆที่ทำการค้ากับประเทศไทยในปัจจุบันอาจจะออกมาตรการแทรกแซงเพื่อลดปริมาณการนำเข้าสินค้าของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูงทำให้สินค้าที่นำเข้าจากเรามีราคาสูงขึ้น หรืออาจโดยการจำกัดปริมาณการนำเข้า หรือใช้มาตรการต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของประเทศไทยที่จะส่งผลทำให้การส่งออกของไทยเสียเปรียบ
3) เรือไทยอาจถูกตรวจอย่างเข้มข้นเมื่อเข้าเมืองท่าต่างประเทศ
นอกเหนือจากการที่อาจจะไม่อนุญาตให้เรือสินค้าของไทย (ในกรณีที่ติด Blacklist) เข้าเมืองท่าต่างประเทศได้เเล้วนั้น Port State Control ของรัฐเจ้าของท่าผู้มีอำนาจในการตรวจสอบเรือสินค้าต่างประเทศเเละสามารถกักเรือไม่ให้ออกจากท่าได้จนกว่าจะเเก้ไขข้อบกพร่องเสร็จสมบูรณ์ จะทำการตรวจสอบอย่างเข้มข้นต่อเรือของประเทศที่ถูกขึ้น Blacklist ให้ให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานของ IMO ตามเหตุผลที่ว่า “จะต้องทำให้เเน่ใจว่าเรือที่ชักธงของประเทศไทยจะอยู่ในมาตรฐานที่ปลอดภัยต่อผู้โดยสารเเละลูกเรือที่สุดถึงจะสามารถปล่อยเรือออกท่าไปได้”
4) เจ้าของเรือไทยอาจเปลี่ยนไปชักธงของประเทศอื่น
เจ้าของเรือไทยอาจเลือกที่จะย้ายไปรับบริการที่มีมาตรฐานที่ดีกว่าเเละเป็นที่ยอมรับในการจดทะเบียนเรือกับรัฐต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลทำให้กองเรือพาณิยช์ไทยมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ
5) ท่าเรือไทยอาจไม่ได้รับการยอมรับจากเรือต่างประเทศในการเข้าใช้บริการ
สืบเนื่องมาจาก Case Study ท่าเรือเเหลมฉบังที่ยังไม่มีมาตรการเเก้ไขสำหรับการควบคุมสินค้าอันตราย (Dangerous Goods) จากเหตุการณ์ไฟไหม้ตู้คอนเทนเนอร์บนเรือบรรทุกสินค้า KMTC HONGKONG บริเวณท่าเทียบเรือ A2 อำเภอศรีราชา เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็น 1 ใน NCs ที่ยังต้องได้รับการเเก้ไขให้ผ่านการประเมินมาตรฐานท่าเรือจาก IMO ซึ่งหากรัฐไม่สามารถออกมาตรการที่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ตามความต้องการของสหประชาชาติได้เเล้ว อาจทำให้เรือสินค้าต่างชาติไม่มั่นใจในความปลอดภัยที่จะเข้ามาใช้บริการท่าเรือไทยเเละอาจเลือกที่จะเข้าใช้ท่าเรือของรัฐอื่นในการส่งสินค้า
ทั้งนี้ท่าเรือถือเป็นประตูด่านเเรกสำหรับสินค้าจากต่างประเทศเเละเม็ดเงินมหาศาลที่ไหลเข้าสู่ประเทศ คงไม่ต้องบอกถึงความเสียหายหากท่าเรือของไทยไม่เป็นที่ต้องการจากเรือต่างชาติ
ทั้งนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พวกเราขอเป็นกำลังใจเเก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐทุกท่านที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจประเมินจาก IMO ในปี พ.ศ. 2564 ที่กำลังจะมาถึง
อ้างอิง
ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย
Related Article
Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020