< 1 MIN READ

ลัน ลัน ลา…ลัน ลัน ลา วาฬชิว ตีครีบผับ ร้อนนี้ไร้เงาซามูไรนักล่า

หน้าร้อนปีนี้ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ยึดพาดหัวข่าวหน้าแรกไปเสียหมด จนข่าวคราวตามฤดูกาลหมดความน่าตื่นเต้นไปเลย และไม่แปลกเลยที่ข่าวบางอย่างหายไปแล้วแต่คนก็ยังไม่รู้

หลายปีที่ผ่านมา ตามหน้าเว็บข่าวรอบโลกเป็นต้องมีเรื่องการล่าวาฬในแถบมหาสมุทรทางใต้ (Southern Ocean) ของเรือญี่ปุ่นจับจองพื้นที่บ้าง บางปีเรื่องราวก็ร้อนแรงถึงขั้นเกือบออกคิวบู๊กับเรือ Sea Shepherd ของกลุ่มอนุรักษ์วาฬกันเลยทีเดียว แต่ปีนี้มันพิเศษหน่อย เพราะว่าข่าวนี้มันหายวับดับสนิท

ไม่รู้ว่าเป็นความโชคดีหรือโชคร้ายของเหล่าวาฬ เพราะช่วงส่งท้ายปี 2017 ญี่ปุ่นประกาศขอออกจากคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission-IWC) และจะเริ่มออกล่าเพื่อการพาณิชย์อย่างจริงจัง

ตอนยังเป็นสมาชิกอยู่ ญี่ปุ่นสามารถใช้ช่องว่างทางกฎหมายและคำประกาศของคณะกรรมการออกล่าวาฬมาได้ไกลถึงน่านน้ำมหาสมุทรตอนใต้ที่ถือเป็นสรวงสรรค์แห่งหนึ่งของวาฬ โดยใช้เหตุผลล่าเพื่อการวิจัยมาโดยตลอด แต่การลาออกทำให้สามารถออกล่าได้เฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษของตัวเองเท่านั้น

การล่าวาฬในญี่ปุ่นสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วง 14,000-300 ปีก่อนคริสตกาล แต่ก็เป็นเพียงการล่าวาฬที่หลงเข้ามาในน่านน้ำเท่านั้น จากนั้นช่วงคริสต์ศักราชที่ 1600 จึงเริ่มมีการล่าเพื่อดำรงชีพ แต่ก็เริ่มมีเสียงต่อต้านเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จำต้องล่าวาฬมากขึ้น และหลังสงครามนายพลดั๊กลาส แม็กอาเธอร์ที่เข้ามาดูแลญี่ปุ่่นก็สนับสนุนให้ออกล่าวาฬยังน่านน้ำอื่น ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร

สำหรับเรื่องรสชาติเนื้อวาฬนั้นขออธิบายได้ด้วยประโยคว่า “ไม่ว่าใคร พอได้ลองกินเนื้อวัว ก็ไม่คิดอยากจะกินเนื้อวาฬอีกหรอก”

แล้วทำไมยังล่าวาฬล่ะ?

คำตอบแยกได้เป็นสองมุมมอง มุมหนึ่งคือชาวญี่ปุ่นมองว่าวาฬคืออาหาร ทำให้ยังมีคนจำนวนหนึ่งดำรงชีพด้วยอาชีพนี้ ส่วนอีกมุมหนึ่งคือเรื่อง “การเมือง” ล้วน ๆ ซึ่งพอถกกันไปมา มันก็คาบเกี่ยวทั้งสองมุมมอง ยุ่งเหยิงไปหมด

ด้านนักอนุรักษ์มองว่าฤดูร้อนปีนี้ถือเป็น “ประวัติศาสตร์” หน้าใหม่เลยที่ไม่มีการล่าวาฬในเขตมหาสมุทรตอนใต้นี้ นี่คือครั้งแรกที่วาฬสามารถว่ายน้ำอย่างเริงร่าสบายใจสุด ๆ แต่ก็ไม่ใช่จุดจบของภารกิจ เป็นเพียงก้าวสำคัญในการต่อสู้กับการล่าวาฬเพื่อการพาณิชย์

แต่ญี่ปุ่นก็ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายทางทะเล ภายใต้สหประชาชาติที่ระบุให้ “ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์วาฬผ่านการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศองค์กรใดองค์กรหนึ่ง” 

ตอนนี้ ญี่ปุ่นประกาศดำรงสถานะเป็น “ผู้สังเกตการณ์” กับ IWC ซึ่งบ่งบอกว่าหนทางการเจรจายังไม่ปิดตายไปซะทีเดียว

อ้างอิง

Related Article

บทความโดย
Ship Expert Technology

ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย

LEAVE YOUR COMMENTS

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.

SHIP EXPERT TECHNOLOGY CO., LTD

223/61 (Room 65) Country complex Building Tower A Sanpawut road, Bangnatai, Bangna, Bangkok 10260 Thailand

Contact Us

sales@shipexpert.net
support@shipexpert.net

Tel : +622-1054646

ABOUT US

OUR VISION
WHY THRUST US

MARITIME COMMUNICATION

VSAT
VOIP
MARINE CCTV

MARITIME SOLUTION

ERP SHIP EXPERT ENTERPRISE
MARITIME AI/BI
SHIP STABILITY SOFTWARE

Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020