ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนเเรงของพายุ ลูกไหนเรียกอย่างไรมาดูกัน

ช่วงราวปลายเดือนตุลาคมและต้นพฤศจิกายนทีไร เรียกได้ว่าเป็นช่วงฮอตฮิตที่พายุต่อแถวกันเข้ามาถึง 4-5 ลูก มีทั้งเบาบ้างแรงบ้าง สร้างความเสียหายให้กับประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
แล้วรู้หรือไม่ว่าพายุเหล่านี้มีชื่อเรียกยังไง แบ่งเป็นประเภทอะไรบ้าง ใช้เกณฑ์อะไรกำหนด พวกเรามาเสริมความรู้รอบตัวเบา ๆ กันสักหน่อย
พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่ก่อตัวกลางมหาสมุทร เกิดขึ้นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส ศูนย์กลางพายุหรือตาพายุ (Eye) จะมีความกดอากาศต่ำและถูกล้อมรอบด้วยกำแพงตา ซึ่งก็คือวงแหวนพายุฝนฟ้าคะนองสูงตระหง่าน
โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 200-500 กิโลเมตร และอาจขยายตัวได้ถึง 1,000 กิโลเมตร ทิศทางการหมุนของพายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้
พายุหมุนนี้ก่อให้เกิดลมกรรโชกแรง ฝนฟ้าคะนองและคลื่นยักษ์สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เป็นวงกว้าง ยิ่งหากทวีกำลังแรงขึ้นมากจะเป็นอันตรายชีวิตและทรัพย์สินได้
เกณฑ์กำหนดความรุนแรงพายุตามองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization-WMO) แบ่งพายุหมุนโซนร้อนออกเป็น 4 ประเภท โดยวัดตามความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่บริเวณใกล้จุดศูนย์กลาง ดังนี้
ประเทศไทยโชคดีที่ส่วนใหญ่เจอแค่ดีเปรสชัน เพราะกว่าพายุจะเคลื่อนตัวมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ก็อ่อนกำลังลงเหลือเพียงแค่ดีเปรสชันเท่านั้น
พายุหมุนเขตร้อนนั้น ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามบริเวณที่ก่อตัวขึ้น เช่น
แม้ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไป แต่ขึ้นชื่อว่า “พายุหมุน” ก็ยังคงความน่ากลัวที่พัดพาลมฝนฟ้าคะนองมา เราเพียงได้แต่ตั้งรับป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น และหวังว่าพายุนั้นจะพัดผ่านไปในที่สุด
อ้างอิง
ผู้นำการบริการการสื่อสารเเละนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจเเละอุตสาหกรรมเดินเรือไทย
Related Article
Ship Expert Technology ©All Rights Reserved 2020